วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผักผลไม้

ผักผลไม้ไทยในจีน



ผลพวงจากนโยบายการเปิดเสรีการค้าไทย-จีน ทำให้พ่อค้าไทยเกิดใหม่นับร้อยๆรายในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตร เฉพาะยอดนำเข้าผักผลไม้แค่จุดเดียวที่ด่านเชียงแสน พุ่งขึ้น 3  เท่าเป็น 2.8 พันล้านบาท โดยเฉพาะสินค้าผักและผลไม้ ที่มีอัตราภาษี 0% หลังจากมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2546
           เพราะต้นทุนการผลิตของจีนได้เปรียบในทุกด้านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อกำแพงภาษีนำเข้าถูกทลายลง โดยเฉพาะผลไม้ประเภทสาลี่และแอปเปิล โดยก่อนเปิดเอฟทีเอถือเป็นผลไม้ราคาแพง ซึ่งสินค้าจีนกลุ่มผลิตผลทางการเกษตรเหล่านี้ มักจะใช้เส้นทางแม่น้ำโขงเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าเมืองหนาว ซึ่งจีนผลิตได้มากและราคาถูก เช่น กะหล่ำ บร็อคโคลี่ คะน้า มันฝรั่ง และกระเทียม
จากการเก็บตัวเลขของสำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ตัวเลขการนำเข้าสินค้าจากจีนทุกด่าน 34 รายการ หลังทำเอฟทีเอช่วง 6 เดือนแรก พบว่ามูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 1,764 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 45 ถึง 128% หรือเพิ่มขึ้น 1,298 ล้านบาท โดยสินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผักขึ้นฉ่าย นำเข้าเพิ่มขึ้น 1.64 ล้านบาท ดอกเก๊กฮวย นำเข้าเพิ่ม 1.62 ล้านบาท พลับแห้ง นำเข้าเพิ่ม 2.74 ล้านบาท ส่วนสินค้าที่มียอดการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ แอปเปิล เป็นสินค้าที่นำเข้าสูงสุด 894 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาลี่ 464.2 ล้านบาท มันฝรั่ง 62.2 ล้านบาท กระเทียม 51.4 ล้านบาท แครอท 51.3 ล้านบาท องุ่น 27.2 ล้านบาท ส้ม 27.2 ล้านบาทเห็ดหอมแห้ง 27.2 ล้านบาท หอมหัวใหญ่ 25.7 ล้านบาท เห็ดหูหนูขาว 15 ล้านบาท เกาลัด 23.4 ล้านบาท แป๊ะก๊วย 22.9 ล้านบาท และผักสด 8.5 ล้านบาท
          ผลดีจากการเปิดตลาด ทำให้การนำเข้า-ส่งออกง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่เพิ่มขึ้นทั้งไทย และจีน เพื่อนำเข้าสินค้าเข้าไทยและส่งออกสินค้าไทยไปจีนมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ที่สนใจน้ำเข้าสินค้าจีนด้านผลิตผลการเกษตร อาจจะต้องคำนึงถึงการแข่งขันกันเอง ให้ขายได้มากและเร็วกว่าพ่อค้ารายอื่นเพื่อป้องกันสินค้าเน่าเสีย ตลอดจนปัญหาการกดราคาจากพ่อค้าส่งสินค้าเกษตร
ส่วนการนำเข้าสินค้าจีนประเภทน้ำผลไม้ น้ำผลไม้จากจีนที่ผลิตได้เป็นจำนวนมากคือน้ำแอปเปิ้ลเท่านั้น ส่วนน้ำอื่นๆประเทศไทยผลิตได้ดีกว่า เช่นเดียวกับผลไม้กระป๋องที่จีนผลิตได้จำนวนมาก คือแอปเปิ้ล พีท เป็นต้น ซึ่งคนไทยชอบรับประทานสดมากกว่า รวมถึงรสชาติของผลไม้กระป๋องอาจไม่ถูกคอคนไทย ทำให้ผลิตภัณฑ์กระป๋องสินค้าของไทยน่าจะถูกใจผู้บริโภคมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้คิดจะนำเข้าสินค้าจีนกลุ่มนี้ ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน
           สินค้าที่นำเข้าจากจีน กลุ่มที่ได้รับความนิยมและมีช่องทางการจำหน่ายสูง มักเป็นผลไม้ที่ไม่สามารถปลูกได้ผลดีในเมืองร้อนเช่นไทย  นอกจากนี้ ผลกระทบจากการใช้ภาษี 0% เป็นเรื่องการขนส่งสินค้าในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะทางเรือ ที่ผ่านมาการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตใหญ่ทางภาคกลางและตะวันออกของจีน สู่ตลาดไทผ่าน อ.เชียงแสน ต้องใช้การขนส่ง 8 ต่อ เป็นระยะทาง 10 วัน ส่งผลต่อต้นทุน รวมทั้งยังทำให้สินค้าบอบช้ำด้วย ดังนั้นเมื่อมีภาษี 0% ผู้ประกอบการจีนจึงหันไปขนส่งทางทะเลแทน


ที่มา http://www.knowchinese.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538655802&Ntype=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น