วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศทั้ง 2 ธุรกิจ


“ ฟูจิ ” เล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
  • ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
  1. ทางร้านอาหารฟูจิ สยามควรทำการศึกษาความได้เปรียบในการแข่งขันว่าของธุรกิจตัวเองว่าเรามีความได้เปรียบ หรือ เสียเปรียบในเรื่องใด
  2. ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มนักท่องเที่ยว บีบวก ว่าเป็นแบบไหนต้องการอะไรจริง หรือ ไม่ เป็นต้น  
  3. ควรคำนึงถึงระบบการจัดส่ง และ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ หรือ จะมีระบบการสำรอง หรือ จะนำสินค้าจากที่ใดที่จะนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจว่า เพื่อที่จะให้ครอบคลุม กับการที่ธุรกิจจะขยายสาขา
  4. มีการปรับปรุงแผนหรือกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมแต่ละสภาพพื้นที่ของแต่ละสาขา และทำการปรับปรุงให้ดีขึ้นเลื่อยๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามารับบริการ และเกิดความพึงพอใจมากที่สุ


“ เอ็มเค ” ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
  • ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1.     ควรมีการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชากรในประเทศที่จะไปลงทุน ทั้งด้านประชากร ลักษณะวัฒนธรรม การศึกษา สังคม ศาสนา ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม และ รายได้ 
2.    MK ควรมองตลาดในแถบเอเชีย เนื่องจาก MK มีจุดขายที่เป็นร้านอาหารสำหรับครอบครัว และ กลุ่มเพื่อน เพราะมีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมของชาวเอเชียเป็นอย่างมาก และ ยังเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของบริษัท 
3.  การนำกลยุทธ์บริหารที่เน้นนวัตกรรมการให้บริการครบวงจรที่ MK ใช้อยู่ในขณะนี้ เพื่อให้บริการที่ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งคือการบริหารจัดการด้วยแนวคิด QCQS ได้แก่ ความรวดเร็วในการให้บริการ (Q = Quickness), ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (C = Cleanliness), คุณภาพของอาหารที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวด (Q = Quality), และการให้บริการที่เป็นเลิศ (S = Service)” เป็นต้น และเป็นการสร้างความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจ 

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT ของสินค้า

วิเคราะห์ SWOT ของสินค้า

 S =  1. ผลไม้ของไทยในปัจจุบันมีการส่งออกมากขึ้นสู้ตลาดของจีน
        2. ประเทศไทยเป็นประเทศทางการเกษตร จึงมีพื้นที่ในการผลิตมาก
W = 1. การส่งสิ้นค้าออกสู้ต่างประเทศต้องเสียภาษีต่างๆให้กับรัฐบาล
        2. ประเทศจีนมีประชากรณ์เป็นจำนวนมาก ผลผลิตทางการเกษตรของไทยอาจมีไม่เพียงพอ
O = 1. ปัจจุบันไทยมีการขยายตัวในเรื่องการส่งออกได้มากขึ้นและก็หลายรูปแบบ
       2. ผลผลิตทางการเกษตรของไทยไม่ต่ำกวา 60%เป็นที่ต้องการของประเทศจีน
T = 1.ผลผลิตทางการเกษตรของไทยราคาอาจไม่คงที่ เพราะมาจาก ภัยธรรมชาติ และปัญหาต่างๆภายในประเทศ
      2. เนื่องจากค่าเงินของไทยมีคาน้อยกว่าประเทศจีนจึงส่งผลถึงรายได้การส่งออก

ผักผลไม้

ผักผลไม้ไทยในจีน



ผลพวงจากนโยบายการเปิดเสรีการค้าไทย-จีน ทำให้พ่อค้าไทยเกิดใหม่นับร้อยๆรายในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตร เฉพาะยอดนำเข้าผักผลไม้แค่จุดเดียวที่ด่านเชียงแสน พุ่งขึ้น 3  เท่าเป็น 2.8 พันล้านบาท โดยเฉพาะสินค้าผักและผลไม้ ที่มีอัตราภาษี 0% หลังจากมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2546
           เพราะต้นทุนการผลิตของจีนได้เปรียบในทุกด้านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อกำแพงภาษีนำเข้าถูกทลายลง โดยเฉพาะผลไม้ประเภทสาลี่และแอปเปิล โดยก่อนเปิดเอฟทีเอถือเป็นผลไม้ราคาแพง ซึ่งสินค้าจีนกลุ่มผลิตผลทางการเกษตรเหล่านี้ มักจะใช้เส้นทางแม่น้ำโขงเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าเมืองหนาว ซึ่งจีนผลิตได้มากและราคาถูก เช่น กะหล่ำ บร็อคโคลี่ คะน้า มันฝรั่ง และกระเทียม
จากการเก็บตัวเลขของสำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ตัวเลขการนำเข้าสินค้าจากจีนทุกด่าน 34 รายการ หลังทำเอฟทีเอช่วง 6 เดือนแรก พบว่ามูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 1,764 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 45 ถึง 128% หรือเพิ่มขึ้น 1,298 ล้านบาท โดยสินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผักขึ้นฉ่าย นำเข้าเพิ่มขึ้น 1.64 ล้านบาท ดอกเก๊กฮวย นำเข้าเพิ่ม 1.62 ล้านบาท พลับแห้ง นำเข้าเพิ่ม 2.74 ล้านบาท ส่วนสินค้าที่มียอดการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ แอปเปิล เป็นสินค้าที่นำเข้าสูงสุด 894 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาลี่ 464.2 ล้านบาท มันฝรั่ง 62.2 ล้านบาท กระเทียม 51.4 ล้านบาท แครอท 51.3 ล้านบาท องุ่น 27.2 ล้านบาท ส้ม 27.2 ล้านบาทเห็ดหอมแห้ง 27.2 ล้านบาท หอมหัวใหญ่ 25.7 ล้านบาท เห็ดหูหนูขาว 15 ล้านบาท เกาลัด 23.4 ล้านบาท แป๊ะก๊วย 22.9 ล้านบาท และผักสด 8.5 ล้านบาท
          ผลดีจากการเปิดตลาด ทำให้การนำเข้า-ส่งออกง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่เพิ่มขึ้นทั้งไทย และจีน เพื่อนำเข้าสินค้าเข้าไทยและส่งออกสินค้าไทยไปจีนมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ที่สนใจน้ำเข้าสินค้าจีนด้านผลิตผลการเกษตร อาจจะต้องคำนึงถึงการแข่งขันกันเอง ให้ขายได้มากและเร็วกว่าพ่อค้ารายอื่นเพื่อป้องกันสินค้าเน่าเสีย ตลอดจนปัญหาการกดราคาจากพ่อค้าส่งสินค้าเกษตร
ส่วนการนำเข้าสินค้าจีนประเภทน้ำผลไม้ น้ำผลไม้จากจีนที่ผลิตได้เป็นจำนวนมากคือน้ำแอปเปิ้ลเท่านั้น ส่วนน้ำอื่นๆประเทศไทยผลิตได้ดีกว่า เช่นเดียวกับผลไม้กระป๋องที่จีนผลิตได้จำนวนมาก คือแอปเปิ้ล พีท เป็นต้น ซึ่งคนไทยชอบรับประทานสดมากกว่า รวมถึงรสชาติของผลไม้กระป๋องอาจไม่ถูกคอคนไทย ทำให้ผลิตภัณฑ์กระป๋องสินค้าของไทยน่าจะถูกใจผู้บริโภคมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้คิดจะนำเข้าสินค้าจีนกลุ่มนี้ ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน
           สินค้าที่นำเข้าจากจีน กลุ่มที่ได้รับความนิยมและมีช่องทางการจำหน่ายสูง มักเป็นผลไม้ที่ไม่สามารถปลูกได้ผลดีในเมืองร้อนเช่นไทย  นอกจากนี้ ผลกระทบจากการใช้ภาษี 0% เป็นเรื่องการขนส่งสินค้าในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะทางเรือ ที่ผ่านมาการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตใหญ่ทางภาคกลางและตะวันออกของจีน สู่ตลาดไทผ่าน อ.เชียงแสน ต้องใช้การขนส่ง 8 ต่อ เป็นระยะทาง 10 วัน ส่งผลต่อต้นทุน รวมทั้งยังทำให้สินค้าบอบช้ำด้วย ดังนั้นเมื่อมีภาษี 0% ผู้ประกอบการจีนจึงหันไปขนส่งทางทะเลแทน


ที่มา http://www.knowchinese.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538655802&Ntype=4

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศจีน

ที่ตั้ง จีนตั้งอยู่บนทวีปเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ โดยรอบ 15 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิชสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ลาว และเวียดนาม ขณะที่ทิศตะวันออกและทิศใต้จดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้

พื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากประเทศ รัสเซีย และแคนาดา พรมแดนทางบกของจีนมีความยาว 28,000 กิโลเมตร และมีชายฝั่งทะเลยาว 18,000 กิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 6,536 เกาะ คือเกาะไต้หวันและไห่หนาน เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง

เมืองหลวง กรุงปักกิ่งหรือเป่ยจิง (ภาษาราชการจีนเรียกว่า “เป่ยจิง” - Beijing ) มีประชากร ประมาณ 30 ล้านคน

ที่มา http://www.wlc2china.com/about_china.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่าง การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ (International trade) คือ

การค้าระหว่างประเทศ คือ อะไร  การค้าระหว่างประเทศ ก็คือ การส่งสินค้าของประเทศหนึ่งผ่านพรมแดนไปขายให้ประเทศอื่น ๆ ที่ต้องการสินค้าของประเทศนั้น เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การส่งออก(Export : X)" อีกด้านของการค้าระหว่างประเทศ ก็คือ การซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ผ่านเขตแดนเข้าในประเทศ เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การนำเข้า(Import : X)" และเรียกผลต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้านี้ว่า "การส่งออกสุทธิ(Net Export : X-M)" อ๋อ ตรงนี้เข้าใจให้ชัดเจนนิดนึงนะครับ ไอ้ที่บอกว่า ผลต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้า เขาหมายถึง ผลต่างระหว่างมูลค่าการส่งออกกับมูลค่าการนำเข้านะครับ



แล้วก็ไอ้ผลต่างของสองตัวที่ว่านั่นแหละครับ ที่จะเป็นตัวแสดงถึง ดุลการค้า(balance of trade) โดยถ้ามูลค่าการส่งออกมากกว่ามูลค่าการนำเข้า เรียกว่า เกินดุลการค้า ถ้ามูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า เรียกว่า ขาดดุลการค้า และถ้ามูลค่าการส่งออกเท่ากับมูลค่าการนำเข้า ก็เรียกว่า ดุลการค้าสมดุล คือ ไม่เกินดุล และก็ไม่ขาดดุลด้วยครับ แต่กรณีนี้ไม่มีหรอกครับ แต่ละประเทศไม่เกินดุลก็ขาดดุลอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า



อีกประเด็นคือ ทำไมต้องมีการค้าระหว่างประเทศ คำตอบมีง่าย ๆ อย่างนี้ครับ 
ประการแรก ก็เพราะว่า แต่ละประเทศนั่น มีทรัพยากร ปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน ผลผลิตของแต่ละประเทศก็เลยต่างกันด้วย แต่ทีนี้คนเรานี่นะครับ มันมีความต้องการสินค้าต่าง ๆ คล้าย ๆ กัน  เช่น  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  เชื้อเพลิง เป็นต้น ทีนี้ก็คงเห็นแล้วนะครับว่า ความจำเป็นที่จะต้องมีการค้าระหว่างประเทศจึงตามมา อย่างเช่น  ไทยเราต้องซื้อน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง  หรือบางประเทศต้องซื้ออาหารทะเลจากไทย เป็นต้น สาเหตุหลักในประเด็นนี้ก็คือ การมีทรัพยากรต่างกัน ครับ
อีกประการหนึ่ง ก็คือว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นกรณีที่มีทรัพยากรไม่ต่างกันมาก แต่ความสามารถในการผลิตมันต่างกัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีหรือความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตที่ต่างกัน มันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศขึ้น อันนี้หมายความว่า ซื้อของเขาดีกว่าทำเองครับ เพราะสินค้าบางอย่างเราทำเอง เราจะเสียเวลาและทรัพยากรมากกว่าเขา เช่น ถ้าให้ไทยทำเครื่องบินใช้เอง เราก็ต้องเสียเวลาและทรัพยากรมากกว่าให้ประเทศที่เขามีเทคโนโลยีทางด้านนี้ทำใช่มั๊ยครับ ในทำนองกลับกัน สินค้าบางชนิดเราก็มีความชำนาญมากกว่าเขา เช่น สินค้าเกษตรบางตัว เป็นต้น ไอ้ความแตกต่างในเรื่องความสามารถในการผลิตที่ว่านี้ มันจะสะท้อนออกมาในรูปของต้นทุนการผลิต ทำให้การผลิตสินค้าชนิดเดียวกันของแต่ละประเทศมีต้นทุนต่างกัน  การค้าระหว่างประเทศที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นก็คือ การให้แต่ละประเทศเลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนเองทำได้ดี ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ แล้วค่อยทำการค้ากัน  ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นไปตาม หลักความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Comparative Advantage) ของเดวิด ริคาร์โด(ค.ศ.1817) ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดเกี่ยวกับหลักความได้เปรียบโดยสมบูรณ์(Absolute Advantage) ของอดัม สมิธ (ค.ศ.1776)อีกที 
  • หลักความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ มีสาระสำคัญคือ "ถ้าประเทศใดสามารถผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้เท่ากับประเทศอื่น โดยใช้จำนวนชั่วโมงแรงงานน้อยกว่าประเทศอื่น ถือว่าประเทศนั้นมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าชนิดนั้นต่อประเทศอื่น ๆ(เช่น แรงงานไทยหนึ่งคน ผลิตรองเท้าหนึ่งคู่ใช้เวลา 2 วัน แต่แรงงานจีนหนึ่งคนผลิตรองเท้าชนิดเดียวกันหนึ่งคู่ใช้เวลา 1 วัน ถือว่าจีนมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตรองเท้าต่อไทย เป็นต้น)" และสมิธ เสนอว่า ในทางการค้าระหว่างประเทศนั้น "ให้แต่ละประเทศผลิตสินค้าเฉพาะชนิดที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์เพื่อการส่งออก และให้นำเข้าสินค้าชนิดที่ไม่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์มาตอบสนองความต้องการของประเทศ"
  • ส่วนหลักความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เสนอว่า ความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไปที่จะทำให้แต่ละประเทศได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ (เพราะบางประเทศอาจจะได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิด และบางประเทศอาจจะไม่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้าชนิดใดเลย) โดยริคาร์โด เสนอว่า ในทางการค้าระหว่างประเทศนั้น สำหรับประเทศที่ได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิดแล้ว ให้ประเทศนั้นเลือกผลิตสินค้าชนิดที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์มากที่สุดเพื่อการส่งออก และนำเข้าสินค้าชนิดที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์น้อยกว่าแทน  ส่วนประเทศที่มีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิด ให้ผลิตสินค้าชนิดที่มีความเสียเปรียบน้อยที่สุดเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้าชนิดที่มีความเสียเปรียบมากที่สุดแทน(เช่น แรงงานไทยหนึ่งคน ผลิตรองเท้าหนึ่งคู่ใช้เวลา 2 วัน แต่แรงงานจีนหนึ่งคนผลิตรองเท้าชนิดเดียวกันหนึ่งคู่ใช้เวลา 1 วัน และแรงงานไทยหนึ่งคนผลิตเครื่องเล่นวีซีดีหนึ่งเครื่องใช้เวลา 3 วัน และแรงงานจีนหนึ่งคนผลิตเครื่องเล่นวีซีดีแบบเดียวกันหนึ่งเครื่องใช้เวลา 1 วัน แสดงว่าจีนได้เปรียบไทยในการผลิตทั้งรองเท้าและเครื่องเล่นวีซีดี ซึ่งการค้าระหว่างประเทศตามแนวทางของริคาร์โด ก็คือ ให้จีนผลิตเครื่องเล่นวีซีดีส่งออกมาไทย เพราะเป็นสินค้าตัวที่ได้เปรียบมากกว่า และให้ไทยผลิตรองเท้าส่งออกไปขายจีนเพราะเป็นสินค้าตัวที่เสียเปรียบน้อยกว่า เป็นต้น) 
สรุปคือ การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละประเทศมีทรัพยากรต่างกัน และการมีความสามารถในการผลิตหรือมีความได้เปรียบในการผลิตไม่เหมือนกันนั่นเอง


การตลาดระหว่างประเทศ  International Marketing คือ


            การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
           สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association : AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
                นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
                ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมากดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
      
          การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
         ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
         -ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
         -ความแตกต่างทางด้านกฎหมายและข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
         -ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
         -ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง

ความแตกต่าง
     การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing คือ การสงเสริมการตลาด การสร้างโปรโมชั้นเพื่อเพิ่มแรงจูงใจต่อสินค้าตัวนั้น
     การค้าระหว่างประเทศ คือ การขายสิ้นค้า การเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า และการส่งสินค้า

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

กล่องดําหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ

กล่องดําหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ

โมเดลพฤติกรรมผู้บริโภค (A Model of Consumer Behavior)
       จุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้ซื้อ คือ การศึกษาถึง "โมเดลสิ่งกระตุ้นและการตอบสนอง" (Stimulus-Response Model)


       งานของนักการตลาด คือ การทำความเข้าใจกับความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ (Buyer's Consciousness) หรือที่เรียกกันว่ากล่องดำ (Black box) โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้


      ส่วนที่ 1 เริ่มต้นจากการมีสิ่งกระตุ้นเข้ามากระทบกล่องดำหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ โดยสิ่งกระตุ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

      (1) สิ่งกระตุ้นทางการตลาด ได้แก่ ส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ และการส่งเสริมการตลาด

      (2) สิ่งกระตุ้นอื่นๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมระดับมหภาค ซึ่งอยู่ภายนอกองค์กร เช่น สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง และวัฒนธรรม



      ส่วนที่ 2 จากสิ่งกระตุ้นดังกล่าวข้างต้นจะกระทบกล่องดำหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

      (1) ลักษณะของผู้ซื้อ (Buyer Characteristics)

      (2) กระบวนการตัดสินใจซื้อ (Buyer decision process)

              **โดยส่วนที่ 2 นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่อไป

       ส่วนที่ 3 เป็นขั้นของการตอบสนองของผู้ซื้อซึ่งได้ผ่านกระบวนการตัดสินใจซื้อมาแล้ว โดยผู้ซื้อจะมีการตอบสนอง 5 ประการดังนี้

(1) การตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อ (Product choice)

(2) การตัดสินใจเลือกตราสินค้าที่จะซื้อ (Brand choice)

(3) การตัดสินใจเลือกร้านค้าที่จะซื้อ (Dealer choice)

(4) การตัดสินใจในเวลาที่จะซื้อ (Purchase timing)

(5) การตัดสินใจในปริมาณที่จะซื้อ (Purchase amount)

       ในหัวข้อต่อไปจะเป็นการอธิบายถึงส่วนที่เป็นกล่องดำหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อทั้ง 2 ส่วน คือ ลักษณะของผู้ซื้อ (Buyer Characteristics) และกระบวนการตัดสินใจซื้อ (Buyer decision process) ตามลำดับ



ลักษณะของผู้ซื้อ (Buyer Characteristics)

       ลักษณะของผู้ซื้อนั้นจะถูกกระทบจากปัจจัยทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

           1. ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม (Cultural Factors)

           2. ปัจจัยทางด้านสังคม (Social Factors)

           3. ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factors)

          4. ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychological Factors)



    1. ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม (Cultural Factors) ประกอบด้วย


           1.1 วัฒนธรรมพื้นฐาน (Culture)

                   เป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อความต้องการและพฤติกรรมของคน โดยเด็กที่กำลังเติบโตจะได้รับอิทธิพลของค่านิยม (Values), การรับรู้ (Perceptions), ความชอบ (Preferences) และพฤติกรรม (Behaviors) มาจากครอบครัว และสถาบันที่สำคัญๆ เช่น โรงเรียน เป็นต้น

           1.2 วัฒนธรรมย่อย (Subculture)

                  ในแต่ละวัฒนธรรมจะประกอบไปด้วยวัฒนธรรมย่อยๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะนำไปสู่การแบ่งส่วนตลาด และการออกแบบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด (4 P's) ที่แตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย

             เชื้อชาติ, สัญชาติ เช่น ไทย จีน อเมริกา อังกฤษ ลาว เป็นต้น
             ศาสนา เช่น พุทธ อิสลาม คริสต์ ซิกข์ เป็นต้น
            พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ เป็นต้น

          1.3 ชั้นทางสังคม (Social Class)

                   เป็นการแบ่งสมาชิกในสังคมออกเป็นลำดับขั้นที่แตกต่างกัน โดยอาศัยตัวแปรต่างๆ อาทิ รายได้ อาชีพ การศึกษา ความมั่งคั่ง แหล่งที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่ง
         
ชั้นทางสังคมออกเป็น 3 ระดับชั้นด้วยกัน คือ

         (1) ชนชั้นระดับสูง (Upper Class)
         (2) ชนชั้นระดับกลาง (Middle Class)
         (3) ชนชั้นระดับล่าง (Lower Class)

           สมาชิกที่อยู่ในชั้นทางสังคมเดียวกัน ก็จะมีค่านิยม ความสนใจ และพฤติกรรมที่คล้ายๆกัน ชั้นทางสังคมที่แตกต่างกันจะนำไปสู่ความชอบในผลิตภัณฑ์ และตราสินค้าที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น กลุ่มคนชั้นสูงส่วนใหญ่จะใช้เสื้อผ้า Brand name ขับรถยนต์ราคาแพง เช่น Benz, BMW, Jaguar กิจกรรมยามว่าง ต้องไปเล่นกอล์ฟ หรือออกงานสังคม เป็นต้น

    ชั้นทางสังคม มีลักษณะสำคัญดังนี้
  
          คนที่อยู่ในชั้นทางสังคมเดียวกัน มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน
          คนจะได้รับตำแหน่งที่สูงกว่า ต่ำกว่าตามชั้นทางสังคม
          ชั้นทางสังคมชี้ให้เห็นถึงกลุ่มของตัวแปรต่างๆ เช่น อาชีพ รายได้ ความมั่งคั่ง การศึกษา มากกว่าที่จะใช้เพียงแค่ตัวแปรเดียว
         คนแต่ละคนสามารถเปลี่ยนชั้นทางสังคมให้สูงขึ้น/ต่ำลงได้ตลอดช่วงชีวิตของเขา

     2. ปัจจัยทางด้านสังคม (Social Factors) ประกอบด้วย


               2.1 กลุ่มอ้างอิง (Reference Groups)

                        ประกอบด้วยบุคคลที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติหรือพฤติกรรมของบุคคล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

               1. กลุ่มอ้างอิงทางตรง (Direct or Membership Groups)
                  
                     คือ กลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคทางตรง และมีการติดต่อกันแบบเผชิญหน้า แบ่งเป็น

                              กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Groups) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ และมีรูปแบบการติดต่อแบบไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว เพื่อน เป็นต้น

                              กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Groups) มีการติดต่อกันแบบนานๆครั้ง และมีรูปแบบการติดต่อแบบเป็นทางการ เช่น กลุ่มทางศาสนา กลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มทางการค้า เป็นต้น

              2. กลุ่มอ้างอิงทางอ้อม (Indirect Groups)
                  
                     คือ กลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลทางอ้อม ไม่ได้มีการรู้จักเป็นการส่วนตัว แบ่งเป็น

                              กลุ่มใฝ่ฝัน (Aspirational Groups) บุคคลที่บุคคลอื่นต้องการจะเป็นเหมือน เช่น นักแสดง นักร้อง นายแบบ นางแบบ พิธีกร นักกีฬาที่มีชื่อเสียง เป็นต้น

                              กลุ่มไม่พึงปรารถนา (Dissociative Groups) บุคคลที่ค่านิยมหรือพฤติกรรมที่บุคคลอื่นปฏิเสธ

    กลุ่มอ้างอิงจะมีอิทธิพลต่อบุคคล 3 ทางด้วยกัน คือ

               (1) กลุ่มอ้างอิงทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ๆ
               (2) มีอิทธิพลต่อทัศนคติและแนวความคิดส่วนของตนเอง
               (3) มีอิทธิพลต่อการเลือกผลิตภัณฑ์และตราสินค้า

              2.2 ครอบครัว (Family)

                       ครอบครัวถือเป็นองค์กรในสังคมที่สำคัญที่สุด โดยสมาชิกในครอบครัวถือเป็นกลุ่มอ้างอิงทางตรงขั้นปฐมภูมิที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยสมาชิกในครอบครัวจะมีการแบ่งบทบาทและอิทธิพลของการตัดสินใจซื้อดังนี้

                  ผู้ชาย เป็นผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ
                  ผู้หญิง เป็นผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ
                 ผู้หญิงและผู้ชาย มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อร่วมกัน

              2.3 บทบาทและสถานภาพ (Roles and Statuses)

                     ผู้บริโภคแต่ละคนจะอยู่ในกลุ่มหลายๆกลุ่มแตกต่างกันออกไป เช่น ครอบครัว ที่ทำงาน สมาคม เป็นต้น ดังนั้นตำแหน่งของบุคคลในแต่ละกลุ่มจะถูกกำหนดในรูปของบทบาทและสถานภาพ ตัวอย่างเช่น นายทักษิณ เมื่ออยู่กับพ่อแม่จะแสดงบทบาทเป็นลูกชาย เมื่ออยู่กับครอบครัวจะมีบทบาทเป็นสามีและหัวหน้าครอบครัว เมื่อไปทำงานจะแสดงบทบาทเป็นประธานบริษัท เป็นต้น
                    สรุปแล้วบทบาท (Roles) จะประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่บุคคลถูกคาดหวังให้ปฏิบัติ โดยสิ่งที่จะปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับบุคคลที่อยู่รอบข้าง
                   นอกจากนี้ในแต่ละบทบาทจะประกอบไปด้วยสถานภาพ (Status) ซึ่งคนจะซื้อสินค้าที่บ่งบอกถึงสถานภาพของตนเอง เช่น ประธานบริษัท ต้องขับรถเบนซ์ ใส่สูท เป็นต้น ดังนั้นหน้าที่ของนักการตลาดจะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์รวมถึงตราสินค้าของเรานั้น เหมาะสำหรับลูกค้าที่อยู่ในบทบาทและสถานภาพใด แล้วทำการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

      3. ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factors) ประกอบด้วย

                   3.1 อายุและลำดับขั้นของวงจรชีวิต (Age and Stage in the Life Cycle)

                               คนจะซื้อสินค้าและบริการที่แตกต่างกันไปตลอดช่วงชีวิต ดังนั้นรสนิยมในการซื้อสินค้า เช่น เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ หรือกิจกรรมยามว่าง จะมีความสัมพันธ์กับอายุและลำดับขั้นของวงจรชีวิต ตัวอย่างเช่น สินค้าประเภทอาหาร เมื่ออยู่ในช่วงวัยรุ่นจะนิยมรับประทานอาหารประเภท Fast food แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ก็จะให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น หรือกิจกรรมยามว่างของวัยรุ่น คือ การดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ แต่กิจกรรมยามว่างของวัยผู้ใหญ่อาจจะเป็นการปลูกต้นไม้ ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เป็นต้น

                   3.2 อาชีพ (Occupation)

                               ผู้บริโภคที่อยู่ในอาชีพที่แตกต่างกัน ความต้องการในการใช้สินค้าหรือบริการก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นนักการตลาดสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของบุคคลที่อยู่ในแต่ละสาขาอาชีพได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องคิดเลข ก็จะมีการออกแบบให้มีรุ่นเพื่อให้ผู้บริโภคแต่ละอาชีพ เช่น นักเรียน/นักศึกษา วิศวกร นักการเงิน นักบัญชี หรือพ่อค้า/แม่ค้าเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
              
                  3.3 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic Circumstances)

                               การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคนั้นยังมีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอีกด้วยโดยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจนั้นจะพิจารณาจาก รายได้สำหรับใช้จ่าย เงินออมและสินทรัพย์ หนี้สิน อำนาจในการกู้ยืม ทัศนคติที่มีต่อการใช้จ่ายและการออม เป็นต้น

                  3.4 รูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle)

                               คนแต่ละคนถึงแม้ว่าจะมาจากวัฒนธรรมย่อย ชั้นทางสังคม หรืออาชีพเดียวกันก็ตาม แต่ก็อาจจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันได้ ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ โดยรูปแบบการดำเนินชีวิตนั้นจะวัดจาก

                                 Activities : กิจกรรม
                                 Interests : ความสนใจ
                                 Opinions : ความคิดเห็น

                  3.5 บุคลิกภาพและแนวความคิดของตนเอง (Personality and Self-Concept)

                               บุคลิกภาพ (Personality) หมายถึง รูปแบบของพฤติกรรมหรืออุปนิสัยของคนแต่ละคน ที่สะท้อนถึงความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นๆ
                              แนวความคิดของตนเอง (Self-Concept) หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเอง  คนแต่ละคนจะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบุคลิกภาพนั้นจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น คนที่มีความมั่นใจในตัวเองจะใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้าสั้นกว่าคนที่ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง บุคลิกภาพจะถูกมองจากด้านต่างๆ เช่น
  
                                ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
                                การมีอำนาจเหนือคนอื่น (Dominance)
                                การชอบเข้าสังคม (Socialability)
                                ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)

       4. ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychological Factors) ประกอบด้วย

                  4.1 การจูงใจ (Motivation)

                               เป็นพลังกระตุ้นหรือพลังผลักดันที่อยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งกระตุ้นให้บุคคลกระทำหรือดำเนินการให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยอาจจะเกิดจากภายในตัวบุคคล หรืออาจถูกกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น ส่วนประสมทางการตลาด (4 P's) วัฒนธรรม หรือชั้นทางสังคม

           ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow

                 1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs) ได้แก่ ความต้องการในปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
                2. ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย (Safety Needs) ได้แก่ ความต้องการความมั่นคงในชีวิต หน้าที่การงาน หรือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
                3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) ได้แก่ ความต้องการความรัก และการยอมรับจากคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือบุคคลอื่นๆที่อยู่ในสังคม
                4. ความต้องการการยกย่อง (Esteem Needs) ได้แก่ ความต้องการการยกย่อง นับหน้าถือตาจากคนในสังคม ดังนั้นสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่มีความต้องการในลำดับขั้นนี้ จะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ราคาแพง
                5. ความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-Actualization Needs)

                4.2 การรับรู้ (Perception)

                                เป็นกระบวนการที่บุคคลทำการคัดเลือก จัดระเบียบ และตีความหมายของข้อมูล เพื่อกำหนดเป็นภาพที่มีความหมายขึ้นมา มี 4 ขั้นตอน คือ

                      1. Selective Explosure : การเลือกเปิดรับข้อมูล
                      2. Selective Attention : การเลือกสนใจข้อมูล
                      3. Selective Distortion : การเลือกตีความข้อมูล
                      4. Selective Retention : การเลือกที่จะจดจำข้อมูล

                 4.3 การเรียนรู้ (Learning)

                                 คือ การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของคนที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนแต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ถ้านาตาชาใช้โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Nokia แล้วมีความพึงพอใจในคุณภาพสินค้า ดังนั้นหากนาตาชาจะซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่โอกาสที่จะเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Nokia ก็มีมากขึ้น

                 4.4 ความเชื่อและทัศนคติ (Beliefs and Attitudes)

                                ความเชื่อ (Beliefs) เป็นความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความคิดเห็นส่วนทัศนคติ (Attitudes) เป็นการประเมินความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจของบุคคล ความรู้สึกด้านอารมณ์ และแนวโน้มการปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งความเชื่อและทัศนคติจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคอาจจะมีความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นหน้าที่ของนักการตลาดคือการสื่อสารเพื่อแก้ไขความเชื่อและทัศนคติเหล่านั้น

ที่มา http://classroom.hu.ac.th/courseware/Marketing/index14.html