การค้าระหว่างประเทศ (International trade) คือ
การค้าระหว่างประเทศ คือ อะไร การค้าระหว่างประเทศ ก็คือ การส่งสินค้าของประเทศหนึ่งผ่านพรมแดนไปขายให้ประเทศอื่น ๆ ที่ต้องการสินค้าของประเทศนั้น เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การส่งออก(Export : X)" อีกด้านของการค้าระหว่างประเทศ ก็คือ การซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ผ่านเขตแดนเข้าในประเทศ เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การนำเข้า(Import : X)" และเรียกผลต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้านี้ว่า "การส่งออกสุทธิ(Net Export : X-M)" อ๋อ ตรงนี้เข้าใจให้ชัดเจนนิดนึงนะครับ ไอ้ที่บอกว่า ผลต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้า เขาหมายถึง ผลต่างระหว่างมูลค่าการส่งออกกับมูลค่าการนำเข้านะครับ
แล้วก็ไอ้ผลต่างของสองตัวที่ว่านั่นแหละครับ ที่จะเป็นตัวแสดงถึง ดุลการค้า(balance of trade) โดยถ้ามูลค่าการส่งออกมากกว่ามูลค่าการนำเข้า เรียกว่า เกินดุลการค้า ถ้ามูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า เรียกว่า ขาดดุลการค้า และถ้ามูลค่าการส่งออกเท่ากับมูลค่าการนำเข้า ก็เรียกว่า ดุลการค้าสมดุล คือ ไม่เกินดุล และก็ไม่ขาดดุลด้วยครับ แต่กรณีนี้ไม่มีหรอกครับ แต่ละประเทศไม่เกินดุลก็ขาดดุลอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า
อีกประเด็นคือ ทำไมต้องมีการค้าระหว่างประเทศ คำตอบมีง่าย ๆ อย่างนี้ครับ
ประการแรก ก็เพราะว่า แต่ละประเทศนั่น มีทรัพยากร ปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน ผลผลิตของแต่ละประเทศก็เลยต่างกันด้วย แต่ทีนี้คนเรานี่นะครับ มันมีความต้องการสินค้าต่าง ๆ คล้าย ๆ กัน เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เชื้อเพลิง เป็นต้น ทีนี้ก็คงเห็นแล้วนะครับว่า ความจำเป็นที่จะต้องมีการค้าระหว่างประเทศจึงตามมา อย่างเช่น ไทยเราต้องซื้อน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง หรือบางประเทศต้องซื้ออาหารทะเลจากไทย เป็นต้น สาเหตุหลักในประเด็นนี้ก็คือ การมีทรัพยากรต่างกัน ครับ
อีกประการหนึ่ง ก็คือว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นกรณีที่มีทรัพยากรไม่ต่างกันมาก แต่ความสามารถในการผลิตมันต่างกัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีหรือความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตที่ต่างกัน มันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศขึ้น อันนี้หมายความว่า ซื้อของเขาดีกว่าทำเองครับ เพราะสินค้าบางอย่างเราทำเอง เราจะเสียเวลาและทรัพยากรมากกว่าเขา เช่น ถ้าให้ไทยทำเครื่องบินใช้เอง เราก็ต้องเสียเวลาและทรัพยากรมากกว่าให้ประเทศที่เขามีเทคโนโลยีทางด้านนี้ทำใช่มั๊ยครับ ในทำนองกลับกัน สินค้าบางชนิดเราก็มีความชำนาญมากกว่าเขา เช่น สินค้าเกษตรบางตัว เป็นต้น ไอ้ความแตกต่างในเรื่องความสามารถในการผลิตที่ว่านี้ มันจะสะท้อนออกมาในรูปของต้นทุนการผลิต ทำให้การผลิตสินค้าชนิดเดียวกันของแต่ละประเทศมีต้นทุนต่างกัน การค้าระหว่างประเทศที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นก็คือ การให้แต่ละประเทศเลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนเองทำได้ดี ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ แล้วค่อยทำการค้ากัน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นไปตาม หลักความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Comparative Advantage) ของเดวิด ริคาร์โด(ค.ศ.1817) ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดเกี่ยวกับหลักความได้เปรียบโดยสมบูรณ์(Absolute Advantage) ของอดัม สมิธ (ค.ศ.1776)อีกที
หลักความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ มีสาระสำคัญคือ "ถ้าประเทศใดสามารถผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้เท่ากับประเทศอื่น โดยใช้จำนวนชั่วโมงแรงงานน้อยกว่าประเทศอื่น ถือว่าประเทศนั้นมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าชนิดนั้นต่อประเทศอื่น ๆ(เช่น แรงงานไทยหนึ่งคน ผลิตรองเท้าหนึ่งคู่ใช้เวลา 2 วัน แต่แรงงานจีนหนึ่งคนผลิตรองเท้าชนิดเดียวกันหนึ่งคู่ใช้เวลา 1 วัน ถือว่าจีนมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตรองเท้าต่อไทย เป็นต้น)" และสมิธ เสนอว่า ในทางการค้าระหว่างประเทศนั้น "ให้แต่ละประเทศผลิตสินค้าเฉพาะชนิดที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์เพื่อการส่งออก และให้นำเข้าสินค้าชนิดที่ไม่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์มาตอบสนองความต้องการของประเทศ"
ส่วนหลักความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เสนอว่า ความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไปที่จะทำให้แต่ละประเทศได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ (เพราะบางประเทศอาจจะได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิด และบางประเทศอาจจะไม่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้าชนิดใดเลย) โดยริคาร์โด เสนอว่า ในทางการค้าระหว่างประเทศนั้น สำหรับประเทศที่ได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิดแล้ว ให้ประเทศนั้นเลือกผลิตสินค้าชนิดที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์มากที่สุดเพื่อการส่งออก และนำเข้าสินค้าชนิดที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์น้อยกว่าแทน ส่วนประเทศที่มีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิด ให้ผลิตสินค้าชนิดที่มีความเสียเปรียบน้อยที่สุดเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้าชนิดที่มีความเสียเปรียบมากที่สุดแทน(เช่น แรงงานไทยหนึ่งคน ผลิตรองเท้าหนึ่งคู่ใช้เวลา 2 วัน แต่แรงงานจีนหนึ่งคนผลิตรองเท้าชนิดเดียวกันหนึ่งคู่ใช้เวลา 1 วัน และแรงงานไทยหนึ่งคนผลิตเครื่องเล่นวีซีดีหนึ่งเครื่องใช้เวลา 3 วัน และแรงงานจีนหนึ่งคนผลิตเครื่องเล่นวีซีดีแบบเดียวกันหนึ่งเครื่องใช้เวลา 1 วัน แสดงว่าจีนได้เปรียบไทยในการผลิตทั้งรองเท้าและเครื่องเล่นวีซีดี ซึ่งการค้าระหว่างประเทศตามแนวทางของริคาร์โด ก็คือ ให้จีนผลิตเครื่องเล่นวีซีดีส่งออกมาไทย เพราะเป็นสินค้าตัวที่ได้เปรียบมากกว่า และให้ไทยผลิตรองเท้าส่งออกไปขายจีนเพราะเป็นสินค้าตัวที่เสียเปรียบน้อยกว่า เป็นต้น)
สรุปคือ การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละประเทศมีทรัพยากรต่างกัน และการมีความสามารถในการผลิตหรือมีความได้เปรียบในการผลิตไม่เหมือนกันนั่นเอง
การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing คือ
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association : AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมากดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
-ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
-ความแตกต่างทางด้านกฎหมายและข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
-ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
-ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
ความแตกต่าง
การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing คือ การสงเสริมการตลาด การสร้างโปรโมชั้นเพื่อเพิ่มแรงจูงใจต่อสินค้าตัวนั้น
การค้าระหว่างประเทศ คือ การขายสิ้นค้า การเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า และการส่งสินค้า